วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

 
การสื่อสาร ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ
ระบบและวิธีการเชิงระบบ

.....การทำงานใดๆให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากพื้นฐานวิธีการที่มีลำดับและขั้นตอนที่ชัดเจนสามารถปฎิบัติซ้ำๆได้หลายครั้งอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลทุกครั้งไป เราเรียกกระบวนการและขั้นตอนนี้ว่า "ระบบ"

..... ระบบ หมายถึง เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ โดย ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี .....ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน.....ระบบ(System) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
.....ระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
.....ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน
และเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
.....ระบบ หมายถึง การรวมของสิ่งย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่หนึ่งส่วนขึ้นไปเป็นหน่วยเดียวกัน  เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เช่น ระบบราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรมและกองต่างๆ เป็นต้น หรือระบบสุริยจักรวาล (Solar System)
.....ระบบ หมายถึง ระบบการทำงานขององค์การต่างๆ ที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ หลายระบบรวมกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ร่วมกันหรืออย่างเดียวกัน เช่น ระบบโรงเรียน ระบบโรงพยาบาล ระบบธนาคาร ระบบบริษัท ระบบห้างร้าน  เป็นต้น
.....ระบบ (System) เป็นกลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์ในสิ่งเดียวกัน ระบบอาจประกอบด้วยบุคลากร เครื่องมือ วัสดุ วิธีการ การจัดการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบในการจัดการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์เดียวกัน คำว่า "ระบบ" เป็นคำที่มีการเกี่ยวข้องกับการทำงานและหน่วยงานและนิยมใช้กันมาก 

.....บานาธี (Banathy. 1968) ให้ความหมายของระบบว่าเป็นการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้ออกแบบ และคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ .....กูด (Good. 1973) ให้ความหมายของระบบว่า หมายถึง การจัดการส่วนต่าง ๆ ทุกส่วนให้เป็นระเบียบโดยแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของส่วนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนกับส่วนทั้งหมดอย่างชัดเจน 
.....เซมพรีวิโว (Semprevivo. 1976) อธิบายว่า ระบบ คือ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวได้ว่า ระบบคือ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งหลายในการปฏิบ้ติหน้าที่และการดำเนินงาน 
.....ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ระบบ หมายถึง การทำงานร่วมกันของส่วนประกอบแต่ละส่วนอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ 
.....วิธีการเชิงระบบ หมายถึง วิธีระบบเป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเองเชิงตรรกวิทยา สำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ยุทธวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และ องค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลา การฝึกระบบและการทดสอบระบบ     การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ  ฉลองชัย สุรวัฒนบุรณ์ (2544) กล่าวขณะที่ กิดานันท์ มลิทอง (2540) อธิบายว่า วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลอง     อันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้านำมาใช้แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะต้องมีการทดลองวิธีใหม่ต่อไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง นั่นคือสามารถแก้ปัญหาได้เป็นผลสำเร็จ 
.....วิธีการเชิงระบบ หมายถึง วิธีการเชิงระบบที่ใช้วิเคราะห์ระบบมีการดำเนินงาน 8 ขั้นตอน ซึ่งประจักษ์ เฉิดโฉม และศิษฐ์ วงษ์กมลเศรษฐ์ (2537) กล่าวไว้ดังนี้คือ 1) ปัญหา (identify  problem) รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา 2) จุดมุ่งหมาย (objective) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา 3) ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (constraints) พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด   ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ     4) ทางเลือก (alternative) ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (selection) หาทางแก้ปัญหาที่จะสามารถแก้ปัญหาได้จริง 6) การทดลองปฏิบัติ (implementation) ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย 7) การประเมินผล (evaluation) หาจุดดีจุดด้อย  และ 8) การปรับปรุงแก้ไข (modification) ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง และนำส่วนดีไปปฏิบัติ   อย่างไรก็ตาม รสสุคนธ์ มกรมณี (2543)  อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ 8 ขั้นตอน แตกต่าง    ไปบ้างเล็กน้อย คือ 1) การระบุปัญหา 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายหรือความจำเป็นในการ      ดำเนินงานแก้ไขปัญหา  3) การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ  พิจารณาขอบเขตการศึกษาข้อจำกัด และระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ 4) การค้นหาทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และเลือกวิธีการต่างๆ สำหรับการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาและตัดสินใจกำหนดทางเลือกที่มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ 6) การออกแบบวิธีหรือระบบที่ใช้ในการ        แก้ปัญหา 7) การนำวิธีหรือระบบไปใช้แก้ปัญหา และ 8) การประเมินผลการแก้ปัญหา และการตรวจสอบย้อนกลับหากผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ   
.....ขั้นตอนของวิธีการเชิงระบบ (กิดานันท์ มลิทอง, 2540; รสสุคนธ์ มกรมณี, 2543) สามารถสรุปได้ 10 ขั้นตอน ดังนี้คือ

ขั้นที่ 1  การกำหนดปัญหา เป็นการระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาให้ชัดเจน รวมทั้งจัดลำดับความจำเป็นของปัญหาให้เห็นว่าปัญหาใดควรได้รับการพิจารณาก่อนหรือหลัง
     ขั้นที่ 2  การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการค้นคว้าข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา และระดับความสัมพันธ์กับปัญหาว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด 
     ขั้นที่ 3  การวิเคราะห์ทางเลือก เป็นการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหาทางเลือกหลายๆ แนวทางหรือหลายๆ ระบบ โดยแต่ละแนวทางจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นข้อดี ข้อจำกัด 
     ขั้นที่ 4  การกำหนดความเป็นไปได้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนำไปดำเนินการ
     ขั้นที่ 5  การพัฒนาโครงสร้างของระบบ เป็นการนำเสนอโครงร่างของระบบ โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเอกสาร ข้อมูล ที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน
     ขั้นที่ 6 การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ เป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของระบบที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ขั้นที่ 7  การออกแบบระบบ เป็นการพัฒนากลไกที่จะทำให้ระบบสามารถดำเนินงานได้
     ขั้นที่ 8  การพัฒนาโครงการ เป็นการพัฒนาโครงการของระบบที่ออกแบบไว้ตาม      รายละเอียดที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ซึ่งในการพัฒนาโครงการจะต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจนและสมบูรณ์ แสดงความสอดคล้องขององค์ประกอบในโครงการหรือในระบบหลักทั้งหมด รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของโครงการนั้น
     ขั้นที่ 9  การนำระบบไปใช้งาน โดยมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ   ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการดำเนินงานและทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ ของระบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น
     ขั้นที่ 10 การติดตามและประเมินผลระบบ เป็นการติดตามการดำเนินงานของระบบ โดยกำหนดจุดตรวจสอบไว้เป็นระยะหรือทุกขั้นตอน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา ความบกพร่อง ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพตามต้องการ 
.....ดังนั้น วิธีการเชิงระบบ หรือวิธีระบบ หรือ การจัดระบบ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การดำเนินงานเรื่องหนึ่งเรื่องใด บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงตรรกะเช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการระบุความต้องการหรือกำหนดปัญหา ค้นหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำการเลือกคำตอบ ทางเลือกหรือวิธีการต่างๆ แล้วนำไปใช้จนได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยผลลัพธ์ที่ได้มีการประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดไว้ในส่วนต่างๆ  ของระบบ จนได้รับผลตามความต้องการอย่างครบถ้วน  ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนเหล่านี้เปรียบเทียบกับรูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น จะเห็นได้ว่าวิธีการเชิงระบบระบบเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา จากคุณลักษณะต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาเหล่านี้ ทำให้ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการเชิงระบบมีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐาน ในการออกแบบโครงสร้างและการพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
.2. ระบบสารสนเทศ .. ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)
.....ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
.....ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
......สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง 
......Laudon & Laudon (2001)  ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations)   การจัดการ (management)  และเทคโนโลยี (Technology)
 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
.....ฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วย
.....อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)
.....หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)
.....อุปกรณ์แสดงผล (output devices)
.....อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices)
....1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ
....1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
....1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)
....1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)
....1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ  ข้อมูล
.....1.3 หน่วยแสดงผล
เป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น
....ซอฟท์แวร์ หมายถึง : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องทำงานได้ตามต้องการในแต่ละงาน แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
....1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และควบคุมโปรแกรมภายนอกอื่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ได้แก่ MS-Dos , Linux, UNIX, Windows ฯลฯ
....2. โปรแกรมแปลภาษา (Compiler Languages) 
เป็นโปรแกรมที่แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น ภาษาเครื่อง
..... โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ เครื่องทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของ ผู้ใช้
....4. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อประมวลผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ได้แก่ 
โปรแกรมประมวลคำ (word Processing)
โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล (data Base Management) 
โปรแกรมทำการคำนวณ (calcutation Program) 
โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ (Business Program)
ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
จากความหมายจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์มี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
...1. รับโปรแกรมและข้อมูล 
...2. ประมวลผล 
...3. แสดงผลลัพธ์
....ข้อมูล (Data) 
คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจศึกษาข้อมูล แบ่งออกได้ดังนี้
...1. รหัส (code) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้ตัวเลขฐานสอง เช่น 0 ถึง 9 หรือ A ถึง Z
...2. บิท (Bit) ย่อมาจาก Binary digit คือหลักในเลขฐานสอง ที่มี 6 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งอาจใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรได้ เช่น 00010010 แทน A
...3. ไบท์ (Bye) คือกลุ่มของเลขฐาน อาจจะเป็น 6 บิท 8 บิท ก็ได้ นำมาเป็นรหัสแทนสัญลักษณ์ตัวใด ตัวหนึ่ง เช่น 00000000 (8 บิท) เท่ากับ 1 ไบท์
...4. ตัวอักขระ (Character) คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนภาษามนุษย์
...5. คำ (Word) 
...6. เขต (Field)
...7. ระเบียน (Record) 
...8. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูล
....บุคลากร 
เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามระบบได้ แบ่งออกได้ดังนี้
...1. นักวิเคราะห์ระบบ (System analysts)
...2. นักเขียนโปรแกรม (Programmers)
...3. พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Operaters)
...4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users Computer)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
......จะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541) 
.....ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001
.....1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร  เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
.....2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
 .....3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
.....4.  ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
 .....สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้  ดังนี้
.....1.ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น  ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น  ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด   รายงานผลเบื้องต้น
.....2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น  ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์ 
.....3.ระบบงานสร้างความรู้  (Knowledge Work Systems - KWS)  เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน  หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา  ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น  ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์  ตัวแบบ  รูปแบบ เป็นต้น
 .....4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ
......5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน  ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน  ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น  หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง  ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
 .....6.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ  สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์ 
.....ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล
 .....สุชาดา  กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก  การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร 
5. ความหมายและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบเนื้อหา1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ
1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราห์ระบบ
1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ
 1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ
ระบบคืออะไร
ระบบคือกลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่นในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน1. บุคคลากรได้แก่ ครูและนักเรียน
2. เครื่องมือได้แก่ เครื่องฉายแผ่นใส ชอล์ก กระดานดำ
3. พัสดุได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้
4. วิธีการได้แก่ เขียนบนกระดานดำ ใช้แผ่นใส หรืออื่นๆ
5. การจัดการได้แก่ โรงเรียนจัดตารางเรียน เก็บเงินค่าเล่าเรียน จ่ายค่าสอนให้แก่ครู
เมื่อเราศึกษาระบบใดระบบหนึ่ง เราควรจะต้องเข้าใจการทำงานของระบบนั้นให้ดีโดย การถามตัวเองตลอดเวลาด้วยคำถามเหล่านี้
1. ระบบทำอะไร ( What )
2. ทำโดยใคร ( Who )
3. ทำเมื่อไร ( When )
4. ทำอย่างไร ( How )
การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ ( System Analysis and Design)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียว ในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )
นักวิเคราะห์ระบบคือใคร ?คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผลให้กับผู้ใช้โดยให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูง
ผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมา แก้ไขซึ่งปัญหาแต่ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ ( programmers)และช่างเทคนิค ( technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงานในหน่วยงานต่างๆ
 1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบนักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจเมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users )
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย
จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ 
 1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ 
โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขต ที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขานักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์  ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
เพื่อให้เข้าใจความหมายของนักวิเคราะห์ระบบมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 จะแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ
 Job Description
ตำแหน่งงาน : นักวิเคราะห์ระบบ
รายละเอียดของงาน :
1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล (INFORMATION SYSTEM) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขซึ่งปัญหา และบรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้นๆ
2. ดีไซต์และจัดวางระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย
3. ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือสัมมนาในหัวข้อของระบบงาน
ความรับผิดชอบ :1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของระบบ
2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่
3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะร้องพัฒนาขึ้นเพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม
4. กำหนดทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ (Altermative solution) ในการแก้ปัญหา
5. เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม
6. ดีไซน์และวางระบบงานให้คล้องจองกัน เพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจ
7. ให้คำแนะนำต่างๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง
หน้าที่ :1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านกำลังคน
2. กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
3. ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน
4. จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจในปัจจุบัน
5. พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อปัญหาให้แก่ธุรกิจ
6. วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานทางเศรษฐกิจ
7. ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
8. ดีไซน์และตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน
9. ดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างต่างๆ ที่ใช้ในระบบ
10. ดีไซน์ลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์ (PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่า
11. ดีไซน์วิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค
12. ดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบ
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
14. วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (CONVERSION PLANS)
 1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบหลังจากที่เราได้วิเคราะห์ว่า นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางระหว่างนักธุรกิจ (BUSINESS PEOPLE) หรือผู้ใช้ระบบ (USERS) กับโปรแกรมเมอร์(PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเป็นอันดับแรกแนวความคิดนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในคุณสมบัติอันควรมีของนักวิเคราะห์ระบบนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน โปรแกรมเมอร์ที่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีได้ในทางตรงกันข้าม โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีไม่ได้
หากเราจะพิจารณาถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ระบบควรมี โดยยึดตามแนวทางของงานที่นักวิเคราะห์ระบบต้องใช้ปฏิบัติ ก็จะเป็นดังต่อไปนี้
1. ความรู้ทางด้านเทคนิคของระบบงานข้อมูลและเทคโนโลยี
นักวิเคราะห์ระบบมักจะถูกมองว่าเป็น "ตัวแทนแห่งความเปลี่ยนแปลง" เหตุที่ว่างงานของนักวิเคราะห์ระบบเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบงานโดยตรง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาความรู้ทางด้านเทคนิค และเทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อระบบงานของผู้ใช้หรือธุรกิจ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีนจึง เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
2.ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม
เป็นที่แน่นอนว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรมเมอร์ ความรู้ทางโปรแกรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้การสื่อสาร ระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ดำเนินไปได้โดยสะดวกและเข้าใจกัน ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ระบบอาจจะไม่ได้ไปนั่งเขียนโปรแกรมด้วยตนเองก็ตาม
นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีความรู้ทางด้าน HIGH-LEVEL PROGRAMMING LANGUABE อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น FORTRAN, BASIC, COBLO,ADA หรือ ที่เราเรียกกันอย่างย่อๆ ว่า 4GL อย่างน้อย 1 ภาษาเช่น DBASE, FOXPRO,ORACLE,MAGIC, หรือ RBASE เป็นต้น
ภาษาที่เลือกเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น หากเป็นบริษัททีพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อขายโดยตรงก็อาจเลือกใช้ภาษา C เป็นต้น หรือหากระบบงานเกี่ยวข้องกับงานทางด้าน วิศวกรรมหรืองานค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจเลือก FORDTRAN เป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ภาษามิได้จำกัดอยู่เฉพาะว่าภาษานั้นเหมาะสมกับงาน ชนิดใดหากแต่ควรคำนึงถึงว่าภาษาที่จะใช้นั้น เป็นภาษาที่สามารถนำไปพัฒนาระบบได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถที่จะรองรับงานนั้นได้จึงเป็นจุดสำคัญ
3. ความรู้ทั่วไปทางด้านธุรกิจ
คงเป็นไปไม่ได้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญไปซะทุกเรื่องทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์และ ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบเป็นตัวกลางที่จะ เชื่อมต่อระหว่างการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ มาเป็นประโชน์ต่อธุรกิจหรือผู้ใช้ ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงควรจะมีความรู้ในเชิงธุรกิจบ้าง เช่น การตลาด การบัญชี ระบบงานสินค้าคงคลัง หรือธุรการงานบุคคล
จากความรู้พื้นฐานดังกล่าว อาจได้มาเองในระหว่างการพัฒนาระบบ จากการสัมภาษณ์ หรือสอบถามจากผู้รู้หรือจากหนังสือ
 ความสามารถในการแก้ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะตีปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจเป็นส่วนๆ และวิเคราะห์ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหา ในแง่ของการหาเหตุและผล อย่างมีขั้นตอน และรู้จักที่จะใช้ความสามารถของตนเพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา (ALTERNATIVE SOLUTIONS) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่มีมา ในแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ก็สามารถที่จะพัฒนาและเรียนรู้ได้
หัวใจสำคัญของการหาวิธีการแก้ปัญหานั่นก็คือ พยายามมองภาพของปัญหาให้กว้างอย่าคิดว่า วิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่นคิดเพื่อแก้ปัญหาที่คล้ายๆ กันกับของตนจะเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับกรณีของเรา เราควรจะพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน (STRONG AND WEAK POINTS) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนตัดสินในที่จะนำวิธีการนั้นมาพัฒนาเป็นระบบใช้จริง
มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ เลขานุการ และนักบัญชี การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลต่างๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่อผู้นั้นได้เข้าใจสิ่งที่นักวิเคราะห์ต้องการ
มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการสื่อสาร ในที่นี้หมายรวมถึงความสามารถที่จะสัมภาษณ์ (INTERVIEWING) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม (PRESENTATION) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง (LISTENING) ด้วย
นอกจากนี้ ความสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่ม (GROUP WORK OR TEAM) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์จะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ หรือถัดลงไปการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมจึงย่อมส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์
ระบบเองโดยตรง
นักวิเคราะห์ระบบควรเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะแต่กับฝ่ายของตนเอง หรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นนักวิเคราะห์และจะทำให้การติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า  ตนโดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานแบบดั้งเดิม
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีน จึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
 การศึกษาจุดประสงค์การออกแบบ (Design Objectives)
 ขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาอย่างละเอียดว่าระบบที่ออกแบบมานั้นจะมีขีดความสามารถอะไรบ้าง อะไรคือ Input และ Output ของระบบ Design Objectives นี้แหละจะเป็นสิ่งที่วิศวะกรระบบใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อถึงขั้นตอนที่ออกแบบระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อทดสอบว่าระบบที่ออก แบบนั้นมีขีดความสามารถ ตามที่ต้งเอาไว้หรือไม่
การสังเคราะห์ระบบ(System Synthesis)
ขั้นตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบระบบโดยใช้หลักทางวิศวกรรมของแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนนี้อาจเกี่ยวข้องกับการจำลองทางทฤษฎี(Simulation) ของระบบ แบบที่ได้มานั้นจะต้องให้ Output ที่สอดคล้องกับ Design Objectives โดยมากแล้ววิศวกรระบบจะออกแบบระบบไว้หลายแบบเพราะว่าแต่ละแบบนั้นไม่สามารถระบุได้ว่าแบบไหน ที่ให้ผลลัพธ์ ดีที่สุด 
การวิเคราะห์ระบบ(System Analysis) 
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลแบบต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการสังเคราะห์ระบบ และเลือกแบบที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม Design Objectives แบบระบบที่คัดเลือกมานั้น อาจจะเป็นการผสมผสานความคิดที่ได้จากแบบต่าง ๆ ที่ทดลองมาแล้วก็ได้ เมื่อคัดเลือกแบบแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะใช้วิธีการวิเคราะห์ต่าง ๆ ในการทำนายการปฏิบัติงานของระบบ (Performance of System) ซึ่งจะต้องไปเปรียบเทียบกับ Design Objectives ที่ได้ตั้งเอาไว้
การจำลองแบบ(System Model Design)
ขั้นตอนนี้เป็นการแปลงแบบที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ มาเป็นแบบจำลอง Hardware ณ จุดนี้ เป็นครั้งแรก ที่วิศวกร ระบบสนใจข้อจำกัดต่าง ๆ ทาง Hardware โดยมากแล้วแบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้ จะไม่สามารถผลิตผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม Design Objectives ดังนั้นวิศวกรระบบ จึงจำเป็นต้องกลับไปทบทวนขั้นตอน System Analysis เพื่อแก้ไขแบบระบบใหม่ จากนั้นจึงจำลองแบบใหม่และทดสอบผลลัพธ์ว่าเป็นไปตาม Design Objectives หรือไม่ก็กลับไปขั้นตอน System Analysis ใหม่ทำเช่นนี้วนเวียนไปจนกว่าจะได้แบบที่บรรลุ Design Objectives  กระบวนการออกแบบในลักษณะนี้เรียกว่า Trade of Studies
การประเมินผลความสามารถของระบบ(Evaluation System Performance)
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลแบบจำลอง Hardware ที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วภายใต้สภาพแวดล้อมจริงที่จะนำแบบจำลองนี้ไปใช้งาน เมื่อพบข้อบกพร่องต่างๆ วิศวกรระบบจะทำการแก้ไขในขั้นตอนนี้ ข้อบกพร่องนี้เองที่จะเพิ่มความชำนาญให้แก่วิศวกรระบบ ทำให้แต่ละคนมีวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาระบบที่ดีขึ้น

ข้อมูลสารสนเทศ
     ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง ที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯ ล ฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยวิธีที่เหมาะสมและตามความต้องการใช้งานรวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว การรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์กันก่อนว่าต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่อทำอะไร ต้องการสารสนเทศใดบ้าง เพราะในความเป็นจริงข้อมูลจะมีปริมาณมาก เช่น ข้อมูลของนักเรียนคนหนึ่งที่โรงเรียนจัดเก็บจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนผู้นี้ได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมายเช่น สีผม สีตา ตำหนิ  ความสูง น้ำหนัก วิชาที่ชอบ ฯลฯ ดังนั้นเราต้องทราบก่อนว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอะไร เช่น ถ้าต้องการทราบข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของนักเรียน ก็คงต้องเก็บข้อมูล ความสูง น้ำหนัก ของนักเรียนไว้
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 


ระบบและวิธีการเชิงระบบ

.....การทำงานใดๆให้ประสบผลสำเร็จบรรลุเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพนั้นย่อมเกิดจากพื้นฐานวิธีการที่มีลำดับและขั้นตอนที่ชัดเจนสามารถปฎิบัติซ้ำๆได้หลายครั้งอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผลทุกครั้งไป เราเรียกกระบวนการและขั้นตอนนี้ว่า "ระบบ"

..... ระบบ หมายถึง เป็นการรวมกันขององค์ประกอบย่อยๆ ที่ทำหน้าที่ของตนเอง และมีปฏิสัมพันธ์กัน เพื่อดำเนินงานให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้  โดยระบบนั้นอาจเกิดโดยธรรมชาติหรือมนุษย์เป็นผู้ออกแบบและสร้างสรรค์ขึ้นก็ได้ โดย ดร.รสสุคนธ์ มกรมณี .....ระบบ หมายถึง การนำปัจจัยต่างๆ อันได้แก่ คน  (People) ทรัพยากร (Resource) แนวคิด (Concept) และกระบวนการ (Process) มาผสมผสานการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ได้วางแผนไว้ โดยภายในระบบอาจประกอบไปด้วยระบบย่อย (Subsystem) ต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน.....ระบบ(System) มีความหมายตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ระบบ คือ ระเบียบเกี่ยวกับการรวมสิ่งต่างๆ ซึ่งมีลักษณะซับซ้อนให้เข้าลำดับประสานเป็นอันเดียวกันตามหลักเหตุผลทางวิชาการ หรือหมายถึงปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งมีความสัมพันธ์ ประสานเข้ากัน โดยกำหนดรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
.....ระบบ(System) คือ กระบวนการต่างๆ ที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกันและมีความสัมพันธ์กันระหว่างกระบวนการเหล่านั้น และเชื่อมต่อกันเพื่อทำงานใดงานหนึ่งให้บรรลุถึงเป้าหมายที่วางไว้
.....ระบบ(System) คือ กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน
และเพื่อให้เข้าใจในความหมายของคำว่าระบบที่จะต้องทำการวิเคราะห์ จึงต้องเข้าใจลักษณะของระบบก่อน
.....ระบบ หมายถึง การรวมของสิ่งย่อยๆ ที่เกี่ยวข้องกัน ตั้งแต่หนึ่งส่วนขึ้นไปเป็นหน่วยเดียวกัน  เพื่อวัตถุประสงค์หรือความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน เช่น ระบบราชการแผ่นดิน ประกอบด้วย กระทรวง ทบวง กรมและกองต่างๆ เป็นต้น หรือระบบสุริยจักรวาล (Solar System)
.....ระบบ หมายถึง ระบบการทำงานขององค์การต่างๆ ที่ประกอบด้วยระบบย่อยๆ หลายระบบรวมกันและทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีการปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อประโยชน์หรือวัตถุประสงค์ร่วมกันหรืออย่างเดียวกัน เช่น ระบบโรงเรียน ระบบโรงพยาบาล ระบบธนาคาร ระบบบริษัท ระบบห้างร้าน  เป็นต้น
.....ระบบ (System) เป็นกลุ่มขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อจุดประสงค์ในสิ่งเดียวกัน ระบบอาจประกอบด้วยบุคลากร เครื่องมือ วัสดุ วิธีการ การจัดการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบในการจัดการเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์เดียวกัน คำว่า "ระบบ" เป็นคำที่มีการเกี่ยวข้องกับการทำงานและหน่วยงานและนิยมใช้กันมาก 

.....บานาธี (Banathy. 1968) ให้ความหมายของระบบว่าเป็นการรวบรวมสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายที่มนุษย์ได้ออกแบบ และคิดสร้างสรรค์ขึ้นมา เพื่อจัดดำเนินการให้บรรลุผลตามเป้าหมายที่วางไว้ .....กูด (Good. 1973) ให้ความหมายของระบบว่า หมายถึง การจัดการส่วนต่าง ๆ ทุกส่วนให้เป็นระเบียบโดยแสดงความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของส่วนต่าง ๆ และความสัมพันธ์ของแต่ละส่วนกับส่วนทั้งหมดอย่างชัดเจน 
.....เซมพรีวิโว (Semprevivo. 1976) อธิบายว่า ระบบ คือ องค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานเกี่ยวโยงสัมพันธ์กันเพื่อให้เกิดผลอย่างใดอย่างหนึ่ง กล่าวได้ว่า ระบบคือ การปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบทั้งหลายในการปฏิบ้ติหน้าที่และการดำเนินงาน 
.....ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า ระบบ หมายถึง การทำงานร่วมกันของส่วนประกอบแต่ละส่วนอย่างมีความสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ 
.....วิธีการเชิงระบบ หมายถึง วิธีระบบเป็นระบบวิธีการแก้ไขด้วยตนเองเชิงตรรกวิทยา สำหรับการตัดสินใจที่ใช้ในการออกแบบและพัฒนาสรรพสิ่งที่มนุษย์ทำขึ้น ยุทธวิธีของระเบียบวิธีนี้ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ การประกอบกิจ การจำแนกหน้าที่และ องค์ประกอบต่างๆ การจัดเวลา การฝึกระบบและการทดสอบระบบ     การติดตั้งและการควบคุมเชิงคุณภาพ  ฉลองชัย สุรวัฒนบุรณ์ (2544) กล่าวขณะที่ กิดานันท์ มลิทอง (2540) อธิบายว่า วิธีระบบเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการกำหนดปัญหา สมมติฐาน การวิเคราะห์ข้อมูล และการดำเนินการทดลอง     อันนำไปสู่การสรุปผลที่เหมาะสม เพื่อการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ถ้าผลสรุปหรือผลลัพธ์ที่ได้มาเป็นสิ่งที่คาดว่าจะได้ผลดีก็จะถูกนำมาทดลองใช้ แต่ถ้านำมาใช้แล้วยังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็จะต้องมีการทดลองวิธีใหม่ต่อไปจนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ถูกต้อง นั่นคือสามารถแก้ปัญหาได้เป็นผลสำเร็จ 
.....วิธีการเชิงระบบ หมายถึง วิธีการเชิงระบบที่ใช้วิเคราะห์ระบบมีการดำเนินงาน 8 ขั้นตอน ซึ่งประจักษ์ เฉิดโฉม และศิษฐ์ วงษ์กมลเศรษฐ์ (2537) กล่าวไว้ดังนี้คือ 1) ปัญหา (identify  problem) รวบรวมสิ่งที่เป็นปัญหา 2) จุดมุ่งหมาย (objective) กำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการแก้ปัญหา 3) ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ (constraints) พิจารณาขอบเขตเพื่อการศึกษาข้อจำกัด   ระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ     4) ทางเลือก (alternative) ค้นหาและเลือกวิธีการต่างๆ ในการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม (selection) หาทางแก้ปัญหาที่จะสามารถแก้ปัญหาได้จริง 6) การทดลองปฏิบัติ (implementation) ทดลองปฏิบัติกับกลุ่มย่อย 7) การประเมินผล (evaluation) หาจุดดีจุดด้อย  และ 8) การปรับปรุงแก้ไข (modification) ปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง และนำส่วนดีไปปฏิบัติ   อย่างไรก็ตาม รสสุคนธ์ มกรมณี (2543)  อธิบายขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ 8 ขั้นตอน แตกต่าง    ไปบ้างเล็กน้อย คือ 1) การระบุปัญหา 2) การกำหนดจุดมุ่งหมายหรือความจำเป็นในการ      ดำเนินงานแก้ไขปัญหา  3) การเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล ศึกษาข้อจำกัดต่างๆ  พิจารณาขอบเขตการศึกษาข้อจำกัด และระบุหน้าที่ของส่วนต่างๆ ในระบบ 4) การค้นหาทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และเลือกวิธีการต่างๆ สำหรับการแก้ปัญหา 5) การพิจารณาและตัดสินใจกำหนดทางเลือกที่มีความเป็นไปได้สูงในการแก้ปัญหาได้สำเร็จ 6) การออกแบบวิธีหรือระบบที่ใช้ในการ        แก้ปัญหา 7) การนำวิธีหรือระบบไปใช้แก้ปัญหา และ 8) การประเมินผลการแก้ปัญหา และการตรวจสอบย้อนกลับหากผลที่ได้ไม่เป็นที่พอใจ   
.....ขั้นตอนของวิธีการเชิงระบบ (กิดานันท์ มลิทอง, 2540; รสสุคนธ์ มกรมณี, 2543) สามารถสรุปได้ 10 ขั้นตอน ดังนี้คือ
ขั้นที่ 1  การกำหนดปัญหา เป็นการระบุปัญหาและสาเหตุของปัญหาให้ชัดเจน รวมทั้งจัดลำดับความจำเป็นของปัญหาให้เห็นว่าปัญหาใดควรได้รับการพิจารณาก่อนหรือหลัง
     ขั้นที่ 2  การเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการค้นคว้าข้อมูลและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับปัญหานั้นๆ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีความสัมพันธ์กับปัญหา และระดับความสัมพันธ์กับปัญหาว่ามีมากหรือน้อยเพียงใด 
     ขั้นที่ 3  การวิเคราะห์ทางเลือก เป็นการศึกษาวิเคราะห์และแสวงหาทางเลือกหลายๆ แนวทางหรือหลายๆ ระบบ โดยแต่ละแนวทางจะต้องวิเคราะห์ให้เห็นข้อดี ข้อจำกัด 
     ขั้นที่ 4  การกำหนดความเป็นไปได้ เป็นการตัดสินใจเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับนำไปดำเนินการ
     ขั้นที่ 5  การพัฒนาโครงสร้างของระบบ เป็นการนำเสนอโครงร่างของระบบ โดยแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร ด้วยเอกสาร ข้อมูล ที่มีรายละเอียดในการปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน
     ขั้นที่ 6 การพัฒนาระบบนำร่องหรือระบบต้นแบบ เป็นการทดสอบความเป็นไปได้ของระบบที่จะสามารถดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     ขั้นที่ 7  การออกแบบระบบ เป็นการพัฒนากลไกที่จะทำให้ระบบสามารถดำเนินงานได้
     ขั้นที่ 8  การพัฒนาโครงการ เป็นการพัฒนาโครงการของระบบที่ออกแบบไว้ตาม      รายละเอียดที่ได้วิเคราะห์ไว้แล้ว ซึ่งในการพัฒนาโครงการจะต้องให้รายละเอียดที่ชัดเจนและสมบูรณ์ แสดงความสอดคล้องขององค์ประกอบในโครงการหรือในระบบหลักทั้งหมด รวมทั้งกำหนดเกณฑ์ในการทดสอบความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของโครงการนั้น
     ขั้นที่ 9  การนำระบบไปใช้งาน โดยมีการวางแผนไว้อย่างรอบคอบ   ผู้ปฏิบัติได้รับการฝึกฝนให้มีความรู้ความเข้าใจวิธีการดำเนินงานและทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใหม่ๆ ของระบบใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น
     ขั้นที่ 10 การติดตามและประเมินผลระบบ เป็นการติดตามการดำเนินงานของระบบ โดยกำหนดจุดตรวจสอบไว้เป็นระยะหรือทุกขั้นตอน เพื่อให้ทราบถึงปัญหา ความบกพร่อง ทั้งนี้เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขระบบใหม่ที่พัฒนาขึ้น ให้เป็นระบบที่มีประสิทธิภาพตามต้องการ 
.....ดังนั้น วิธีการเชิงระบบ หรือวิธีระบบ หรือ การจัดระบบ จึงเป็นกระบวนการที่ช่วยให้การดำเนินงานเรื่องหนึ่งเรื่องใด บรรลุผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เป็นรูปแบบหนึ่งของการแก้ปัญหาเชิงตรรกะเช่นเดียวกับวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีการระบุความต้องการหรือกำหนดปัญหา ค้นหาคำตอบหรือวิธีแก้ไขปัญหาต่างๆ ทำการเลือกคำตอบ ทางเลือกหรือวิธีการต่างๆ แล้วนำไปใช้จนได้ผลลัพธ์ที่คาดหวัง โดยผลลัพธ์ที่ได้มีการประเมินผลและการปรับปรุงแก้ไขตามที่กำหนดไว้ในส่วนต่างๆ  ของระบบ จนได้รับผลตามความต้องการอย่างครบถ้วน  ซึ่งเมื่อพิจารณาขั้นตอนเหล่านี้เปรียบเทียบกับรูปแบบการแก้ปัญหาทั่วไปที่กล่าวมาแล้วในตอนต้น จะเห็นได้ว่าวิธีการเชิงระบบระบบเป็นรูปแบบหนึ่งของกระบวนการแก้ปัญหา จากคุณลักษณะต่างๆ ดังที่ได้กล่าวมาเหล่านี้ ทำให้ผู้วิจัยเห็นว่าวิธีการเชิงระบบมีประโยชน์และเหมาะสมสำหรับนำมาประยุกต์ใช้เป็นพื้นฐาน ในการออกแบบโครงสร้างและการพัฒนารูปแบบการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและการเรียนรู้ให้เกิดประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
.....2. ระบบสารสนเทศ 
...... ระบบสารสนเทศ (Information system) หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่ ระบบคอมพิวเตอร์ทั้งฮาร์ดแวร์  ซอฟท์แวร์  ระบบเครือข่าย  ฐานข้อมูล  ผู้พัฒนาระบบ ผู้ใช้ระบบ  พนักงานที่เกี่ยวข้อง และ ผู้เชี่ยวชาญในสาขา  ทุกองค์ประกอบนี้ทำงานร่วมกันเพื่อกำหนด  รวบรวม จัดเก็บข้อมูล  ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างสารสนเทศ และส่งผลลัพธ์หรือสารสนเทศที่ได้ให้ผู้ใช้เพื่อช่วยสนับสนุนการทำงาน การตัดสินใจ  การวางแผน  การบริหาร การควบคุม  การวิเคราะห์และติดตามผลการดำเนินงานขององค์กร (สุชาดา กีระนันทน์, 2541)

.....ระบบสารสนเทศ หมายถึง ชุดขององค์ประกอบที่ทำหน้าที่รวบรวม  ประมวลผล จัดเก็บ และแจกจ่ายสารสนเทศ เพื่อช่วยการตัดสินใจ และการควบคุมในองค์กร  ในการทำงานของระบบสารสนเทศประกอบไปด้วยกิจกรรม 3 อย่าง คือ การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input)  การประมวลผล (Processing)  และ การนำเสนอผลลัพธ์ (Output)  ระบบสารสนเทศอาจจะมีการสะท้อนกลับ (Feedback) เพื่อการประเมินและปรับปรุงข้อมูลนำเข้า  ระบบสารสนเทศอาจจะเป็นระบบที่ประมวลด้วยมือ(Manual) หรือระบบที่ใช้คอมพิวเตอร์ก็ได้ (Computer-based information system –CBIS) (Laudon & Laudon, 2001) 
แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อกล่าวถึงระบบสารสนเทศ มักจะหมายถึงระบบที่ต้องอาศัยคอมพิวเตอร์และระบบโทรคมนาคม
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่จัดเก็บข้อมูล และประมวลผลเป็นสารสนเทศ และระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ต้องอาศัยฐานข้อมูล  (CIS 105 -- Survey of Computer Information Systems, n.d.)
.....ระบบสารสนเทศ  หมายถึง ชุดของกระบวนการ บุคคล และเครื่องมือ ที่จะเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นสารสนเทศ  (FAO Corporate Document Repository, 1998)  ระบบสารสนเทศ ไม่ว่าจะเป็นระบบมือหรือระบบอัตโนมัติ หมายถึง ระบบที่ประกอบด้วย คน เครื่องจักรกล(machine)  และวิธีการในการเก็บข้อมูล   ประมวลผลข้อมูล  และเผยแพร่ข้อมูล ให้อยู่ในลักษณะของสารสนเทศของผู้ใช้ (Information system, 2005)
......สรุปได้ว่า ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง 
......Laudon & Laudon (2001)  ยังอธิบายว่าในมิติทางธุรกิจ ระบบสารสนเทศเป็นระบบที่ช่วยแก้ปัญหาการจัดการขององค์กร ซึ่งถูกท้าทายจากสิ่งแวดล้อม  ดังนั้นการใช้ระบบสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องเข้าใจองค์กร(Organzations)   การจัดการ (management)  และเทคโนโลยี (Technology)
 องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
.....ฮาร์ดแวร์ หมายถึง : อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานตามชุดคำสั่งได้และ ให้ผลลัพธ์ตามต้องการ ประกอบด้วย
.....อุปกรณ์ป้อนข้อมูลเข้า (input devices)
.....หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing unit)
.....อุปกรณ์แสดงผล (output devices)
.....อุปกรณ์ความจำสำรอง (Secondary Storage devices)
....1.1 หน่วยรับข้อมูล (Input Unit)
ทำหน้าที่รับข้อมูลโปรแกรม ต่างๆ ที่ส่งผ่านอุปกรณ์เข้ามาเก็บ ไว้ในหน่วยความจำ ได้แก่ แป้นพิมพ์, เมาส์, Joystick ฯลฯ
....1.2 หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit) หรือ CPU ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทั้งหมด แบ่งออกเป็น 2 หน่วย คือ
....1.2.1 หน่วยควบคุม (Control Unit)
....1.2.2 หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic and Logical Unit)
....1.2.3 หน่วยความจำ (Memory Unit) เป็นหน่วยที่ทำหน้าที่จำหรือเก็บคำสั่ง และข้อมูลต่างๆ รวมทั้งผลลัพธ์ที่ส่ง มาจากหน่วยคำนวณ หน่วยความจำอาจมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หน่วยเก็บ  ข้อมูล
.....1.3 หน่วยแสดงผล
เป็นหน่วยที่แสดงผลออกมาทางสื่ออย่างใดอย่างหนึ่ง ได้แก่ จอภาพ, เครื่องพิมพ์, เครื่องเจาะบัตร เป็นต้น
....ซอฟท์แวร์ หมายถึง : ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่เขียนขึ้นจากภาษาคอมพิวเตอร์ ให้เครื่องทำงานได้ตามต้องการในแต่ละงาน แบ่งตามลักษณะการทำงานได้ดังนี้
....1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้อุปกรณ์อื่นๆ สามารถทำงานประสานกันได้ และควบคุมโปรแกรมภายนอกอื่นๆ ให้สามารถใช้งานได้ โปรแกรมระบบปฏิบัติการ ได้แก่ MS-Dos , Linux, UNIX, Windows ฯลฯ
....2. โปรแกรมแปลภาษา (Compiler Languages) 
เป็นโปรแกรมที่แปลภาษาคอมพิวเตอร์ให้เป็น ภาษาเครื่อง
..... โปรแกรมประยุกต์ (Application Software) เป็นโปรแกรมที่นักเขียนโปรแกรมเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้ เครื่องทำงานเฉพาะอย่างตามความต้องการของ ผู้ใช้
....4. โปรแกรมสำเร็จรูป (Package Program) เป็นโปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อประมวลผลของงานในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ได้แก่ 
โปรแกรมประมวลคำ (word Processing)
โปรแกรมจัดระบบฐานข้อมูล (data Base Management) 
โปรแกรมทำการคำนวณ (calcutation Program) 
โปรแกรมสำหรับงานธุรกิจ (Business Program)
ขั้นตอนการจัดระบบสารสนเทศ
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
จากความหมายจะเห็นว่า คอมพิวเตอร์มี ขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอน คือ
...1. รับโปรแกรมและข้อมูล 
...2. ประมวลผล 
...3. แสดงผลลัพธ์
....ข้อมูล (Data) 
คือข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ใดๆ ที่สนใจศึกษาข้อมูล แบ่งออกได้ดังนี้
...1. รหัส (code) คือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนข้อมูล โดยปกติใช้ตัวเลขฐานสอง เช่น 0 ถึง 9 หรือ A ถึง Z
...2. บิท (Bit) ย่อมาจาก Binary digit คือหลักในเลขฐานสอง ที่มี 6 บิท หรือ 8 บิท ซึ่งอาจใช้เป็นรหัสแทนตัวอักษรได้ เช่น 00010010 แทน A
...3. ไบท์ (Bye) คือกลุ่มของเลขฐาน อาจจะเป็น 6 บิท 8 บิท ก็ได้ นำมาเป็นรหัสแทนสัญลักษณ์ตัวใด ตัวหนึ่ง เช่น 00000000 (8 บิท) เท่ากับ 1 ไบท์
...4. ตัวอักขระ (Character) คือสัญลักษณ์ต่างๆ ที่ใช้แทนภาษามนุษย์
...5. คำ (Word) 
...6. เขต (Field)
...7. ระเบียน (Record) 
...8. ไฟล์ (File) หรือแฟ้มข้อมูล
....บุคลากร 
เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ที่จะทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามระบบได้ แบ่งออกได้ดังนี้
...1. นักวิเคราะห์ระบบ (System analysts)
...2. นักเขียนโปรแกรม (Programmers)
...3. พนักงานควบคุมคอมพิวเตอร์ (Computer Operaters)
...4. ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (Users Computer)
ประเภทของระบบสารสนเทศ
......จะเห็นความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร กับระบบสารสนเทศ และเทคโนโลยีสารสนเทศชัดเจนมากขึ้น  และเนื่องจากการบริหารงานในองค์กรมีหลายระดับ  กิจกรรมขององค์กรแต่ละประเภทอาจจะแตกต่างกัน  ดังนั้นระบบสารสนเทศของแต่ละองค์กรอาจแบ่งประเภทแตกต่างกันออกไป 
(สุชาดา กีระนันทน์, 2541) 
.....ถ้าพิจารณาจำแนกระบบสารสนเทศตามการสนับสนุนระดับการทำงานในองค์กร   จะแบ่งระบบสารสนเทศได้เป็น 4 ประเภท  ดังนี้ (Laudon & Laudon, 2001
.....1. ระบบสารสนเทศสำหรับระดับผู้ปฏิบัติงาน (Operational – level systems)   ช่วยสนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในส่วนปฏิบัติงานพื้นฐานและงานทำรายการต่างๆขององค์กร  เช่นใบเสร็จรับเงิน  รายการขาย  การควบคุมวัสดุของหน่วยงาน เป็นต้น  วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยการดำเนินงานประจำแต่ละวัน และควบคุมรายการข้อมูลที่เกิดขึ้น
.....2. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้ชำนาญการ (Knowledge-level systems)  ระบบนี้สนับสนุนผู้ทำงานที่มีความรู้เกี่ยวข้องกับข้อมูล   วัตถุประสงค์หลักของระบบนี้ก็เพื่อช่วยให้มีการนำความรู้ใหม่มาใช้ และช่วยควบคุมการไหลเวียนของงานเอกสารขององค์กร
 .....3. ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (Management - level systems)  เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยในการตรวจสอบ   การควบคุม การตัดสินใจ และการบริหารงานของผู้บริหารระดับกลางขององค์กร
.....4.  ระบบสารสนเทศระดับกลยุทธ์ (Strategic-level system)   เป็นระบบสารสนเทศที่ช่วยการบริหารระดับสูง ช่วยในการสนับสนุนการวางแผนระยะยาว  หลักการของระบบคือต้องจัดความสัมพันธ์ระหว่างสภาพแวดล้อมภายนอกกับความสามารถภายในที่องค์กรมี เช่นในอีก 5 ปีข้างหน้า องค์กรจะผลิตสินค้าใด
 .....สุชาดา กีระนันทน์ (2541)และ Laudon & Laudon (2001) ได้แบ่งประเภทของระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงานของผู้ปฏิบัติงาน/ผู้บริหารระดับต่างๆไว้  ดังนี้
.....1.ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing Systems - TPS)  เป็นระบบที่ทำหน้าที่ในการปฏิบัติงานประจำ ทำการบันทึกจัดเก็บ  ประมวลผลรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน  โดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ทำงานแทนการทำงานด้วยมือ  ทั้งนี้เพื่อที่จะทำการสรุปข้อมูลเพื่อสร้างเป็นสารสนเทศ  ระบบประมวลผลรายการนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกิจการกับลูกค้า ตัวอย่าง เช่น ระบบการจองบัตรโดยสารเครื่องบิน  ระบบการฝากถอนเงินอัตโนมัติ เป็นต้น  ในระบบต้องสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น  ระบบนี้มักจัดทำเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารระดับต้นเป็นส่วนใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานประจำได้  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักจะอยู่ในรูปของ รายงานที่มีรายละเอียด   รายงานผลเบื้องต้น
.....2.ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation Systems- OAS)  เป็นระบบที่สนับสนุนงานในสำนักงาน หรืองานธุรการของหน่วยงาน ระบบจะประสานการทำงานของบุคลากรรวมทั้งกับบุคคลภายนอก หรือหน่วยงานอื่น  ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร โดยการใช้ซอฟท์แวร์ด้านการพิมพ์  การติดต่อผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์  เป็นต้นผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของเอกสาร  กำหนดการ  สิ่งพิมพ์ 
.....3.ระบบงานสร้างความรู้  (Knowledge Work Systems - KWS)  เป็นระบบที่ช่วยสนับสนุนบุคลากรที่ทำงานด้านการสร้างความรู้เพื่อพัฒนาการคิดค้น สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ  บริการใหม่ ความรู้ใหม่เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในหน่วยงาน  หน่วยงานต้องนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาสนับสนุนให้การพัฒนาเกิดขึ้นได้โดยสะดวก สามารถแข่งขันได้ทั้งในด้านเวลา คุณภาพ และราคา  ระบบต้องอาศัยแบบจำลองที่สร้างขึ้น  ตลอดจนการทดลองการผลิตหรือดำเนินการ ก่อนที่จะนำเข้ามาดำเนินการจริงในธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของ สิ่งประดิษฐ์  ตัวแบบ  รูปแบบ เป็นต้น
 .....4.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ  (Management Information Systems- MIS)  เป็นระบบสารสนเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงานระดับกลาง  ใช้ในการวางแผน  การบริหารจัดการ และการควบคุม  ระบบจะเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่ในระบบประมวลผลรายการเข้าด้วยกัน  เพื่อประมวลและสร้างสารสนเทศที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการบริหารงาน  ตัวอย่าง เช่น ระบบบริหารงานบุคลากร  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของรายงานสรุป  รายงานของสิ่งผิดปกติ
......5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ  (Decision Support Systems – DSS)  เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจสำหรับปัญหา หรือที่มีโครงสร้างหรือขั้นตอนในการหาคำตอบที่แน่นอนเพียงบางส่วน  ข้อมูลที่ใช้ต้องอาศัยทั้งข้อมูลภายในกิจการและภายนอกกิจการประกอบกัน  ระบบยังต้องสามารถเสนอทางเลือกให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับสถานการณ์นั้น  หลักการของระบบ สร้างขึ้นจากแนวคิดของการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยการตัดสินใจ โดยให้ผู้ใช้โต้ตอบโดยตรงกับระบบ ทำให้สามารถวิเคราะห์ ปรับเปลี่ยนเงื่อนไขและกระบวนการพิจารณาได้ โดยอาศัยประสบการณ์ และ ความสามารถของผู้บริหารเอง  ผู้บริหารอาจกำหนดเงื่อนไขและทำการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขต่างๆ ไปจนกระทั่งพบสถานการณ์ที่เหมาะสมที่สุด แล้วใช้เป็นสารสนเทศที่ช่วยตัดสินใจ  รูปแบบของผลลัพธ์ อาจจะอยู่ในรูปของ รายงานเฉพาะกิจ  รายงานการวิเคราะห์เพื่อตัดสินใจ  การทำนาย หรือ พยากรณ์เหตุการณ์
 .....6.ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง  (Executive Information System - EIS)  เป็นระบบที่สร้างสารสนเทศเชิงกลยุทธ์สำหรับผู้บริหารระดับสูง ซึ่งทำหน้าที่กำหนดแผนระยะยาวและเป้าหมายของกิจการ  สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูงนี้จำเป็นต้องอาศัยข้อมูลภายนอกกิจกรรมเป็นอย่างมาก   ยิ่งในยุคปัจจุบันที่เป็นยุค Globalization  ข้อมูลระดับโลก แนวโน้มระดับสากลเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการแข่งขันของธุรกิจ  ผลลัพธ์ของระบบนี้ มักอยู่ในรูปของการพยากรณ์/การคาดการณ์ 
.....ถึงแม้ว่าระบบสารสนเทศจะมีหลายประเภท แต่องค์ประกอบที่จำเป็นของระบบสารสนเทศทุกประเภท ก็คือต้องประกอบด้วยกิจกรรม 3 อย่างตามที่ Laudon & Laudon (2001)ได้กล่าวไว้ คือ ระบบต้องมีการนำเข้าข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล และการแสดงผลลัพธ์ของข้อมูล
 .....สุชาดา  กีระนันทน์ (2541) สรุปไว้ว่า การพัฒนาระบบสารสนเทศในองค์กรนั้นเป็นสิ่งท้าทายผู้บริหารเป็นอย่างมาก  การที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศขึ้นในหน่วยงานเป็นสิ่งที่ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบการพัฒนาระบบ ต้องร่วมกันตัดสินใจอย่างรอบคอบ  เพราะการนำระบบสารสนเทศมาใช้อาจจะกระทบต่อกระบวนการดำเนินงานและการบริหารที่เป็นอยู่  หรืออาจจะมีผลก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในองค์กร 
5. ความหมายและบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบเนื้อหา
1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ
1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบ
1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราห์ระบบ
1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์ระบบ
 1.1 ความหมายการวิเคราะห์ระบบ
ระบบคืออะไร
ระบบคือกลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่นในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร
องค์ประกอบของระบบการเรียนการสอน1. บุคคลากรได้แก่ ครูและนักเรียน
2. เครื่องมือได้แก่ เครื่องฉายแผ่นใส ชอล์ก กระดานดำ
3. พัสดุได้แก่ โต๊ะ เก้าอี้
4. วิธีการได้แก่ เขียนบนกระดานดำ ใช้แผ่นใส หรืออื่นๆ
5. การจัดการได้แก่ โรงเรียนจัดตารางเรียน เก็บเงินค่าเล่าเรียน จ่ายค่าสอนให้แก่ครู
เมื่อเราศึกษาระบบใดระบบหนึ่ง เราควรจะต้องเข้าใจการทำงานของระบบนั้นให้ดีโดย การถามตัวเองตลอดเวลาด้วยคำถามเหล่านี้
1. ระบบทำอะไร ( What )
2. ทำโดยใคร ( Who )
3. ทำเมื่อไร ( When )
4. ทำอย่างไร ( How )
การวิเคราะห์ระบบและการออกแบบ ( System Analysis and Design)
การวิเคราะห์และออกแบบระบบคือ วิธีการที่ใช้ในการสร้างระบบสารสนเทศขึ้นมาใหม่ในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง หรือระบบย่อยของธุรกิจ นอกจากการสร้างระบบสารสนเทศใหม่แล้ว การวิเคราะห์ระบบช่วยในการแก้ไขระบบสารสนเทศเดิมที่มีอยู่แล้วให้ดีขึ้นด้วยก็ได้ การวิเคราะห์ระบบคือ การหาความต้องการ ( Requirements) ของระบบสารสนเทศว่าคืออะไร หรือต้องการเพิ่มเติมอะไรเข้ามาในระบบและการออกแบบก็คือ การนำเอาความต้องการของระบบมาเป็นแบบแผนหรือเรียกว่าพิมพ์เขียว ในการสร้างระบบสารสนเทศนั้นให้ใช้ในงานได้จริง ผู้ที่ทำหน้านี้ก็คือ นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ ( System Analysis : SA )
นักวิเคราะห์ระบบคือใคร ?คอมพิวเตอร์เป็นเพียงเครื่องมือที่ใช้สำหรับเก็บรวบรวมและประมวลผลให้กับผู้ใช้โดยให้ประโยชน์ต่อผู้ใช้คือ ความรวดเร็วและความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญต่อการบริหารของธุรกิจในปัจุบันที่มีการแข่งขันสูง
ผู้ใช้ ( Users ) จึงเป็นผู้กำหนดปัญหาและแนวทางของระบบงานที่นำมา แก้ไขซึ่งปัญหาแต่ผู้ใช้เองไม่ทราบวิธีจะนำเอาคอมพิวเตอร์มาใช้แก้ปัญหา หรือช่วยเหลือในการบริหาร ในทางตรงกันข้ามโปรแกรมเมอร์ ( programmers)และช่างเทคนิค ( technicians)เป็นผู้ที่สามารถจะใช้เทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์และป้อนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ต้องการ แต่โปรแกรมเมอร์หรือช่างเทคนิคมักจะไม่เข้าใจถึงระบบธุรกิจมากนัก ดังนั้น ช่องว่างระหว่างนักธุรกิจหรือระบบงานในหน่วยงานต่างๆ กับโปรแกรมเมอร์หรือกับช่างเทคนิคจึงอาจเกิดขึ้นได้
นักวิเคราะห์ระบบจึงทำหน้าที่เป็นผู้สมานช่องว่างนี้ นักวิเคราะห์ระบบเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรงที่จะนำเอาความเข้าใจและเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ ในการพัฒนาระบบงานข้อมูลเพื่อช่วยแก้ปัญหาให้กับงานในหน่วยงานต่างๆ
 1.2 บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบนักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักธุรกิจ โดยนำเอาปัจจัย 3 ประการ คือ คน ( people ) วิธีการ ( method ) และคอมพิวเตอร์เทคโนโลยี ( computer technology ) ใช้ในการปรับปรุงหรือแก้ปัญหาให้กับนักธุรกิจเมื่อได้มีการนำเอาพัฒนาการทางเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์มาใช้ นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรับผิดชอบถึงการกำหนดลักษณะของข้อมูล ( data ) ที่จะจัดเก็บเข้าสู่ระบบงานคอมพิวเตอร์ การหมุนเวียน การเปลี่ยนแปลงของข้อมูลและระยะเวลาเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ใช้หรือธุรกิจ ( business users )
นักวิเคราะห์ระบบไม่ได้เพียงวิเคราะห์หรือดีไซน์ระบบงานเท่านั้น หากแต่ยังขายบริการทางด้านระบบงานข้อมูล โดยนำเอาประโยชน์จากเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้ควบคู่กันไปด้วย
จากบทบาทของนักวิเคราะห์ระบบที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความรู้ทั้งทางภาคธุรกิจหรือการดำเนินงาน ในหน่วยงานต่างๆ และคอมพิวเตอร์ควบคู่กัน นักวิเคราะห์ระบบโดยส่วนใหญ่สามารถที่จะดีไซน์ระบบงานและเขียนโปรแกรมขึ้นได้ด้วยตัวเอง ส่วนนี้เองกลับทำให้บุคคลภายนอกเกิดความสับสนระหว่างโปรแกรมเมอร์กับนักวิเคราะห์ระบบ 
 1.3 ความแตกต่างระหว่างโปรแกรมเมอร์และนักวิเคราะห์ระบบ 
โปรแกรมเมอร์ ( programmer ) หมายถึงบุคคลที่รับผิดชอบในด้านการเขียนโปรแกรม สิ่งที่เขาจะเชื่อมโยงนั้น ได้แก่ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติ ( Operating System :OS ) หรือแม้กระทั่งภาษาที่ใช้ในการเขียน เช่น COBOL, BASIC และ C++ งานของโปรแกรมเมอร์จะเป็นไปในลักษณะที่มีขอบเขต ที่แน่นอนคือโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นนั้นถูกต้องตามจุดประสงค์หรือไม่ กิจกรรมงานของโปรแกรมจะเกี่ยวข้องกับคนจำนวนน้อย เช่น กับโปรแกรมเมอร์ด้วยกันเอง หรือกับนักวิเคราะห์ระบบที่เป็นผู้วางแนวทางของระบบให้แก่เขานักวิเคราะห์ระบบ หรือที่เรียกกันย่อๆ ว่า SA (SYSTEM ANALYSIS) นั้น นอกจากจะต้องรับผิดชอบต่อการโปรแกรมคอมพิวเตอร์แล้ว ยังจะต้องรับผิดชอบงานในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผู้ที่จะใช้ระบบแฟ้มหรือฐานข้อมูลต่างๆ รวมทั้งข้อมูลดิบที่จะป้อนเข้าระบบงานของนักวิเคราะห์ระบบไม่ได้อยู่ในลักษณะที่แน่นอนแบบโปรแกรมเมอร์ ไม่มีคำตอบที่แน่นอนจากระบบที่เขาวางไม่ว่าผิดหรือถูก งานของเขาเกิดจากการประนีประนอมและผสมผสานของปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบงาน คือ ผู้ใช้ วิธีการ เทคโนโลยี และอุปกรณ์จนได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมออกมาเป็นระบบงาน (APPLICATION SYSTEM) งานของนักวิเคราะห์ระบบจึงมักจะต้องเกี่ยวข้องกับคนหลายระดับ ตั้งแต่ลูกค้าหรือผู้ใช้ นักธุรกิจ โปรแกรมเมอร์  ผู้ตรวจสอบบัญชีหรือแม้กระทั่งเซลล์แมนที่ขายระบบงานข้อมูล
แม้ว่างานของนักวิเคราะห์ระบบจะดูเป็นงานที่ยากและซับซ้อน แต่งานในลักษณะนี้ก็เป็นงานที่ท้าทายให้กับบุคคลที่มีความคิดสร้างสรรค์และกว้างไกลเข้ามาอยู่เสมอ ความรู้สึกภาคภูมิใจที่ได้วางระบบงานออกมาเป็นรูปร่างและสามารถ ใช้ปฏิบัติได้จริง จะฝังอยู่ในสำนึกของเขาตลอดเวลา ความรู้สึกอันนี้คงจะถ่ายทอดออกมาเป็นตัวหนังสือไม่ได้ แต่จะทราบกันเองในหมู่ของนักวิเคราะห์ระบบด้วยกัน
เพื่อให้เข้าใจความหมายของนักวิเคราะห์ระบบมากยิ่งขึ้น ตารางที่ 1 จะแสดงให้เห็นรายละเอียดของหน้าที่ของนักวิเคราะห์ระบบ
 Job Description
ตำแหน่งงาน : นักวิเคราะห์ระบบ
รายละเอียดของงาน :
1. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาระบบงานข้อมูล (INFORMATION SYSTEM) รับผิดชอบในการศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของธุรกิจ เพื่อที่จะหาทางนำเอาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ วิธีการทางธุรกิจ รวมถึงบุคลากรต่างๆ มาใช้ในการพัฒนาเพื่อหาทางแก้ไขซึ่งปัญหา และบรรลุถึงความต้องการของธุรกิจนั้นๆ
2. ดีไซต์และจัดวางระบบฐานข้อมูล รวมทั้งการติดตั้งด้วย
3. ให้คำแนะนำและอบรมทั้งทางด้านเอกสารและการพบปะพูดจา หรือสัมมนาในหัวข้อของระบบงาน
ความรับผิดชอบ :1. วิเคราะห์และประเมินผล เพื่อหาความเป็นไปได้ (Feasibility Study) ของระบบ
2. วิเคราะห์ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบธุรกิจที่เป็นอยู่
3. แจกแจงถึงสิ่งต่าง ๆ ที่จำเป็นจะร้องพัฒนาขึ้นเพื่อใช้หรือทดแทนระบบเดิม
4. กำหนดทางเลือกต่างๆ ที่เป็นไปได้ (Altermative solution) ในการแก้ปัญหา
5. เลือกอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ตามความเหมาะสม
6. ดีไซน์และวางระบบงานให้คล้องจองกัน เพื่อแก้ปัญหาของธุรกิจ
7. ให้คำแนะนำต่างๆ เมื่อระบบงานถูกนำมาใช้จริง
หน้าที่ :1. จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่ายต่างๆ รวมทั้งด้านกำลังคน
2. กำหนดแผนงานและระยะเวลาที่ใช้ในการพัฒนาระบบงาน
3. ดำเนินการสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลที่สำคัญต่อการพัฒนาระบบงาน
4. จัดทำเอกสารและวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจในปัจจุบัน
5. พัฒนาระบบงานโดยใช้เทคโนโลยีปัจจุบันเพื่อปัญหาให้แก่ธุรกิจ
6. วิเคราะห์ถึงความเหมาะสมต่างๆ ของเทคโนโลยี การปฏิบัติการ และฐานทางเศรษฐกิจ
7. ทบทวนและยื่นข้อเสนอของระบบงานเพื่อพิจารณาอนุมัติ
8. ดีไซน์และตรวจสอบความถูกต้องของระบบงาน
9. ดีไซน์แฟ้มหรือฐานข้อมูลและโครงสร้างต่างๆ ที่ใช้ในระบบ
10. ดีไซน์ลักษณะการติดต่อระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบงานคอมพิวเตอร์ ( USERS) กับโปรแกรมเมอร์ (PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่า
11. ดีไซน์วิธีการเก็บข้อมูลและเทคนิค
12. ดีไซน์ระบบรักษาความปลอดภัย และการควบคุมระบบ
13. ให้คำแนะนำทางด้านการเขียนโปรแกรมเพื่อให้ระบบดำเนินไปได้ตามเป้าหมาย
14. วางแผนงานต่างๆ เพื่อให้ระบบได้พัฒนาขึ้นใหม่ถูกนำมาใช้แทนระบบเดิมโดยให้มีความยุ่งยากน้อยที่สุด (CONVERSION PLANS)
 1.4 การเตรียมตัวเป็นนักวิเคราะห์บทบาทของนักวิเคราะห์ระบบหลังจากที่เราได้วิเคราะห์ว่า นักวิเคราะห์ระบบจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางระหว่างนักธุรกิจ (BUSINESS PEOPLE) หรือผู้ใช้ระบบ (USERS) กับโปรแกรมเมอร์(PROGRAMMERS) อย่างไรก็ตามธุรกิจหรือหน่วยงานต่างๆ จึงมักจะมีความคิดที่ว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมเป็นอันดับแรกแนวความคิดนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นในคุณสมบัติอันควรมีของนักวิเคราะห์ระบบนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะพัฒนาระบบเพื่อแก้ปัญหาให้กับผู้ใช้หรือธุรกิจอย่างมีเทคนิคและแบบแผน โปรแกรมเมอร์ที่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีได้ในทางตรงกันข้าม โปรแกรมเมอร์ที่ไม่เก่งมิได้หมายความว่าเขาจะเป็นนักวิเคราะห์ระบบที่ดีไม่ได้
หากเราจะพิจารณาถึงคุณสมบัติพื้นฐานที่นักวิเคราะห์ระบบควรมี โดยยึดตามแนวทางของงานที่นักวิเคราะห์ระบบต้องใช้ปฏิบัติ ก็จะเป็นดังต่อไปนี้
1. ความรู้ทางด้านเทคนิคของระบบงานข้อมูลและเทคโนโลยี
นักวิเคราะห์ระบบมักจะถูกมองว่าเป็น "ตัวแทนแห่งความเปลี่ยนแปลง" เหตุที่ว่างงานของนักวิเคราะห์ระบบเป็นงานที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงของระบบงานโดยตรง นักวิเคราะห์ระบบจะต้องนำเอาความรู้ทางด้านเทคนิค และเทคโนโลยีมาช่วยให้เกิดประโยชน์ต่อระบบงานของผู้ใช้หรือธุรกิจ
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีนจึง เป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
2.ประสบการณ์ทางด้านการเขียนโปรแกรม
เป็นที่แน่นอนว่านักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำงานใกล้ชิดกับโปรแกรมเมอร์ ความรู้ทางโปรแกรมจึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้การสื่อสาร ระหว่างนักวิเคราะห์ระบบกับโปรแกรมเมอร์ดำเนินไปได้โดยสะดวกและเข้าใจกัน ถึงแม้ว่านักวิเคราะห์ระบบอาจจะไม่ได้ไปนั่งเขียนโปรแกรมด้วยตนเองก็ตาม
นักวิเคราะห์ระบบควรจะมีความรู้ทางด้าน HIGH-LEVEL PROGRAMMING LANGUABE อย่างน้อย 1 ภาษา เช่น FORTRAN, BASIC, COBLO,ADA หรือ ที่เราเรียกกันอย่างย่อๆ ว่า 4GL อย่างน้อย 1 ภาษาเช่น DBASE, FOXPRO,ORACLE,MAGIC, หรือ RBASE เป็นต้น
ภาษาที่เลือกเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาระบบควรจะพิจารณาตามความเหมาะสม เช่น หากเป็นบริษัททีพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อขายโดยตรงก็อาจเลือกใช้ภาษา C เป็นต้น หรือหากระบบงานเกี่ยวข้องกับงานทางด้าน วิศวกรรมหรืองานค้นคว้าทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็อาจเลือก FORDTRAN เป็นภาษาหลัก อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ภาษามิได้จำกัดอยู่เฉพาะว่าภาษานั้นเหมาะสมกับงาน ชนิดใดหากแต่ควรคำนึงถึงว่าภาษาที่จะใช้นั้น เป็นภาษาที่สามารถนำไปพัฒนาระบบได้อย่างต่อเนื่อง และมีความสามารถที่จะรองรับงานนั้นได้จึงเป็นจุดสำคัญ
3. ความรู้ทั่วไปทางด้านธุรกิจ
คงเป็นไปไม่ได้ว่านักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้เชี่ยวชาญไปซะทุกเรื่องทั้งทางด้านคอมพิวเตอร์และ ธุรกิจ แต่อย่างไรก็ดีเนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบเป็นตัวกลางที่จะ เชื่อมต่อระหว่างการใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ มาเป็นประโชน์ต่อธุรกิจหรือผู้ใช้ ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบจึงควรจะมีความรู้ในเชิงธุรกิจบ้าง เช่น การตลาด การบัญชี ระบบงานสินค้าคงคลัง หรือธุรการงานบุคคล
จากความรู้พื้นฐานดังกล่าว อาจได้มาเองในระหว่างการพัฒนาระบบ จากการสัมภาษณ์ หรือสอบถามจากผู้รู้หรือจากหนังสือ
 ความสามารถในการแก้ปัญหาและวิธีแก้ปัญหา
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีความสามารถที่จะตีปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นแก่ธุรกิจเป็นส่วนๆ และวิเคราะห์ซึ่งปัญหาเหล่านั้นเพื่อที่จะหาวิธีการแก้ปัญหา นักวิเคราะห์ระบบจะต้องรู้จักวิเคราะห์ปัญหา ในแง่ของการหาเหตุและผล อย่างมีขั้นตอน และรู้จักที่จะใช้ความสามารถของตนเพื่อหาวิธีการต่างๆ เพื่อแก้ปัญหา (ALTERNATIVE SOLUTIONS) แม้ว่าความสามารถอันนี้จะเป็นพรสวรรค์ที่มีมา ในแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ความสามารถที่จะแก้ปัญหาต่างๆ ก็สามารถที่จะพัฒนาและเรียนรู้ได้
หัวใจสำคัญของการหาวิธีการแก้ปัญหานั่นก็คือ พยายามมองภาพของปัญหาให้กว้างอย่าคิดว่า วิธีการแก้ปัญหาวิธีแรกที่ตนคิดเป็นวิธีที่ดีที่สุดและเป็นวิธีเดียวเท่านั้น อย่าคิดว่าวิธีการแก้ปัญหาที่คนอื่นคิดเพื่อแก้ปัญหาที่คล้ายๆ กันกับของตนจะเป็นวิธีมาตรฐาน และใช้ได้กับกรณีของเรา เราควรจะพิจารณาจุดแข็งและจุดอ่อน (STRONG AND WEAK POINTS) ของแต่ละวิธีโดยละเอียดก่อนตัดสินในที่จะนำวิธีการนั้นมาพัฒนาเป็นระบบใช้จริง
มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการติดต่อสื่อสาร
เนื่องจากนักวิเคราะห์ระบบจะต้องพบปะกับบุคคลหลายประเภท หลายอาชีพ และหลายระดับ เช่น ผู้อำนวยการ ผู้จัดการ ช่างเทคนิค โปรแกรมเมอร์ เลขานุการ และนักบัญชี การสื่อสารจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลต่างๆ ที่นักวิเคราะห์ระบบติดต่อผู้นั้นได้เข้าใจสิ่งที่นักวิเคราะห์ต้องการ
มนุษย์สัมพันธ์และความสามารถในการสื่อสาร ในที่นี้หมายรวมถึงความสามารถที่จะสัมภาษณ์ (INTERVIEWING) ความสามารถที่จะอธิบายหรือชี้แจงในที่ประชุม (PRESENTATION) รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง (LISTENING) ด้วย
นอกจากนี้ ความสามารถที่จะทำงานเป็นกลุ่ม (GROUP WORK OR TEAM) ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่นักวิเคราะห์จะขาดเสียไม่ได้ เนื่องจากงานของนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่จะต้องกระจายให้กับโปรแกรมเมอร์ หรือถัดลงไปการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมจึงย่อมส่งผลต่อความสำเร็จและความเชื่อถือต่อนักวิเคราะห์
ระบบเองโดยตรง
นักวิเคราะห์ระบบควรเล็งเห็นความสำคัญของการทำงานเป็นกลุ่ม ไม่ใช่เฉพาะแต่กับฝ่ายของตนเอง หรือกับโปรแกรมเมอร์เท่านั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้น หากแต่ต้องแฝงตัวเองเป็นสมาชิกในกลุ่มของผู้ใช้ระบบหรือธุรกิจที่ตนวางระบบให้อีกด้วย การทำเช่นนั้นจะทำให้ผู้ใช้ระบบรู้สึกเป็นนักวิเคราะห์และจะทำให้การติดตั้งระบบงานคอมพิวเตอร์เป็นไปโดยสะดวกขึ้น พร้อมกับลดแรงกดดันหรือต่อต้านจากผู้ใช้ระบบที่มีแนวความคิดว่า  ตนโดนยัดเยียดระบบงานใหม่ให้แทนระบบงานแบบดั้งเดิม
นักวิเคราะห์ระบบจะต้องทำตัวเองให้ทันสมัยอยู่เสมอ และทราบถึงแนวโน้มที่จะเป็นไปในอนาคตด้วยการอ่านแม็กกาซีนรายเดือนหรือรายสัปดาห์ ในส่วนของระบบงานข้อมูลหรือคอมพิวเตอร์แม็กกาซีน จึงเป็นสิ่งที่นักวิเคราะห์ระบบสมควรต้องติดตามอย่างสม่ำเสมอ นอกจากนี้การสัมมนาทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรติดตามเช่นกัน
 การศึกษาจุดประสงค์การออกแบบ (Design Objectives)
 ขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาอย่างละเอียดว่าระบบที่ออกแบบมานั้นจะมีขีดความสามารถอะไรบ้าง อะไรคือ Input และ Output ของระบบ Design Objectives นี้แหละจะเป็นสิ่งที่วิศวะกรระบบใช้ในการเปรียบเทียบเมื่อถึงขั้นตอนที่ออกแบบระบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อทดสอบว่าระบบที่ออก แบบนั้นมีขีดความสามารถ ตามที่ต้งเอาไว้หรือไม่
การสังเคราะห์ระบบ(System Synthesis)
ขั้นตอนนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการออกแบบระบบโดยใช้หลักทางวิศวกรรมของแต่ละสาขาที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนนี้อาจเกี่ยวข้องกับการจำลองทางทฤษฎี(Simulation) ของระบบ แบบที่ได้มานั้นจะต้องให้ Output ที่สอดคล้องกับ Design Objectives โดยมากแล้ววิศวกรระบบจะออกแบบระบบไว้หลายแบบเพราะว่าแต่ละแบบนั้นไม่สามารถระบุได้ว่าแบบไหน ที่ให้ผลลัพธ์ ดีที่สุด 
การวิเคราะห์ระบบ(System Analysis) 
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลแบบต่าง ๆ ที่ได้จากขั้นตอนการสังเคราะห์ระบบ และเลือกแบบที่ให้ผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม Design Objectives แบบระบบที่คัดเลือกมานั้น อาจจะเป็นการผสมผสานความคิดที่ได้จากแบบต่าง ๆ ที่ทดลองมาแล้วก็ได้ เมื่อคัดเลือกแบบแล้ว นักวิเคราะห์ระบบจะใช้วิธีการวิเคราะห์ต่าง ๆ ในการทำนายการปฏิบัติงานของระบบ (Performance of System) ซึ่งจะต้องไปเปรียบเทียบกับ Design Objectives ที่ได้ตั้งเอาไว้
การจำลองแบบ(System Model Design)
ขั้นตอนนี้เป็นการแปลงแบบที่ได้จากขั้นตอนการวิเคราะห์ระบบ มาเป็นแบบจำลอง Hardware ณ จุดนี้ เป็นครั้งแรก ที่วิศวกร ระบบสนใจข้อจำกัดต่าง ๆ ทาง Hardware โดยมากแล้วแบบจำลองที่สร้างขึ้นนี้ จะไม่สามารถผลิตผลลัพธ์ที่เป็นไปตาม Design Objectives ดังนั้นวิศวกรระบบ จึงจำเป็นต้องกลับไปทบทวนขั้นตอน System Analysis เพื่อแก้ไขแบบระบบใหม่ จากนั้นจึงจำลองแบบใหม่และทดสอบผลลัพธ์ว่าเป็นไปตาม Design Objectives หรือไม่ก็กลับไปขั้นตอน System Analysis ใหม่ทำเช่นนี้วนเวียนไปจนกว่าจะได้แบบที่บรรลุ Design Objectives  กระบวนการออกแบบในลักษณะนี้เรียกว่า Trade of Studies
การประเมินผลความสามารถของระบบ(Evaluation System Performance)
ขั้นตอนนี้เป็นการประเมินผลแบบจำลอง Hardware ที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วภายใต้สภาพแวดล้อมจริงที่จะนำแบบจำลองนี้ไปใช้งาน เมื่อพบข้อบกพร่องต่างๆ วิศวกรระบบจะทำการแก้ไขในขั้นตอนนี้ ข้อบกพร่องนี้เองที่จะเพิ่มความชำนาญให้แก่วิศวกรระบบ ทำให้แต่ละคนมีวิสัยทัศน์ในการแก้ปัญหาระบบที่ดีขึ้น

ข้อมูลสารสนเทศ
     ข้อมูล (Data) คือ ข้อเท็จจริง ที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ เช่น คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ ฯ ล ฯ ข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ของสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยต้อง มีการรวบรวมข้อมูลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
สารสนเทศ(Information) หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลโดยวิธีที่เหมาะสมและตามความต้องการใช้งานรวมทั้งมีการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว การรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องมีการวิเคราะห์กันก่อนว่าต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่อทำอะไร ต้องการสารสนเทศใดบ้าง เพราะในความเป็นจริงข้อมูลจะมีปริมาณมาก เช่น ข้อมูลของนักเรียนคนหนึ่งที่โรงเรียนจัดเก็บจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ ชื่อ ที่อยู่ บ้านเลขที่ ชื่อผู้ปกครอง บิดา มารดา ข้อมูลที่บันทึกไว้นี้ไม่อาจทำให้รู้จักและเข้าใจนักเรียนผู้นี้ได้อย่างถ่องแท้ เพราะมีข้อมูลอย่างอื่นของนักเรียนที่ไม่ได้บันทึกไว้อีกมากมายเช่น สีผม สีตา ตำหนิ  ความสูง น้ำหนัก วิชาที่ชอบ ฯลฯ ดังนั้นเราต้องทราบก่อนว่าต้องการนำข้อมูลไปทำอะไร เช่น ถ้าต้องการทราบข้อมูลที่จะแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตของนักเรียน ก็คงต้องเก็บข้อมูล ความสูง น้ำหนัก ของนักเรียนไว้